Story:piyawat Chitma

THE 41th BANGKOK INTERNATIONAL MOTOR SHOW

สร้างความมั่นใจแก่ผู้ชมงานจ่ายเสริมความปลอดภัยสูงสุด พร้อมฉลอง 50ปีกรังด์ปรีซ์

 

“เราร่วมมือกับกองควบคุมโรคติดต่อจ่ายเงินเพิ่มอีกสองล้านบาทเพื่อเครื่องตรวจจับความร้อนที่บริเวณดวงตาและม่านตา สำหรับการตรวจจับความร้อนที่แม่นยำ เพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับไวรัส ดังนั้นผู้เข้าชมงานมั่นใจได้แน่นอน”

 

งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์(THE 41th BANGKOK INTERNATIONAL MOTOR SHOW) เดินทางมาถึงครั้งที่ 41 ถือเป็นงานจัดแสดงยานยนต์ที่ติดอยู่ในปฏิทินโลกเกี่ยวกับงานแสดงยานยนต์ นอกจากจะเป็นงานที่รวบรวมสุดยอดยานยนต์และนวัตกรรมต่างๆ ของแต่ละค่ายมาไว้ด้วยกันแล้ว  งานนี้ยังเป็นอีกหนึ่งงานที่มีส่วนกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์ให้คึกคักด้วยยอดขาย

 

โดยในปี 2019 หรือครั้งที่ 40 มียอดจำหน่ายรถยนต์มากถึง 37,769 คัน แบ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 6,166 คัน รถจักรยานยนต์มียอดจอง 5,343 คัน และยังมีรถยนต์เปิดตัวใหม่อีกสามรุ่น MG ZS EV,All-New Chevrolet Captiva และToyota GR Supra ซึ่งทั้งสามรุ่นก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ใช้ ขณะที่ไฮเปอร์คาร์อย่าง Aston Martin Valkyrie ถือเป็นครั้งแรกที่รถยนต์ไฮเปอร์คาร์มาถึงเอเชียครั้งแรก มูลค่า 300 ล้านบาทผลิตเพียง 150 คัน และมีรถต้นแบบอีกสองคัน ส่วนยอดผู้เข้าชมงานรวมทั้งหมด 12 วัน คือ 1.6 ล้านคน 

 

ในปี 2020 งานบางกอกมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 41 ยังคงความยิ่งใหญ่ไว้เช่นเดิมพื้นที่จัดแสดงงานครบทุกตารางเมตร แต่พิเศษกว่าทุกครั้งคือเรื่องความปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากด้วยจำนวนคนเข้าชมงานต่อวันค่อนข้างเยอะ ผู้จัดงานจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากตั้งแต่เริ่มเดินเข้ามาในงาน จากเดิมแค่ผ่านจุดตรวจจุดเดียวแต่สำหรับบางกอกมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 41 ผู้จัดงานได้เพิ่มความละเอียดในการตรวจผู้เข้าชมงานอีกขั้น

 

“ในปีนี้เราเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นด้านการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส เราได้นำประสบการณ์ของเรามาใช้ในงานนี้ ตั้งแต่วันที่ข่าวเผยแพร่ออกมาเราก็เตรียมตัวทันที โดยเราได้จ่ายเพิ่มอีกสองล้านบาทเพื่อเพิ่มมาตรการการป้องกันความปลอดภัยเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 เพราะงานเราค่อนข้างใหญ่จึงต้องระวังมากเป็นพิเศษ ผมเองได้ติดต่อบริษัทโคโนกราฟเข้ามาคุยแล้วนำเครื่องตรวจความร้อนเข้ามาใช้ เครื่องตัวนี้จะไม่วัดความร้อนจากร่างกายเท่านั้น แต่จะวัดในดวงตาเพราะถ้าหากวัดจากตัวของคนเรา อาจไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์ถ้าใครกินยาลดไข้มาก็ตรวจไม่เจอ ถ้าหากเป็นดวงตาความร้อนจะไม่ลดลง เมื่อตรวจเจอก็จะมีเจ้าหน้าที่คือ 1. พยาบาลประจำเครื่องอยู่จะเป็นคนจัดการ 2.เจ้าหน้าที่กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย จะเป็นผู้คัดกรอง ถามว่าทำไมเราถึงพร้อมรับมือกับเรื่องเหล่านี้ ก็ด้วยประสบการณ์เมื่อตอนไข้หวัดนกระบาดหรือโรคซาร์สก็ตาม เราก็ผ่านมันมาได้ แล้วเราก็มาจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ผมติดต่อกับบริษัทดังกล่าวทันทีเมื่อได้ยินข่าวแล้วก็เซ็นต์สัญญากันเรียบร้อย ดังนั้นมาถึงวันนี้เราก็ต้องบอกว่ามั่นใจได้ทุกคน” จาตุรนต์ โกมลมิศร์  รองประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 กล่าว

 

 

       “เราทำทุกอย่างโดยละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งนี้ก็เพื่อผู้เข้าชมงาน...ขอยืนยันว่าเราต้องการให้ทุกคนมางานบางกอกมอเตอร์โชว์แล้วต้องปลอดภัยมากที่สุด!!! ”

 

ผู้จัดงานให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างยิ่งเบื้องต้นทางสถานที่จัดงานฯ ได้วางวิธีปฏิบัติงานป้องกันโรคระบาด อยู่ภายใต้มาตรฐานการควบคุมของระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับการจัดประชุม สัมมนา และนิทรรศการ หรือ มอก.22300 ( TIS 22300) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มาร่วมงานฯ โดยผู้จัดงาน ได้เตรียมมาตรการรับมือจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส2019 หรือ COVID-19 โดยมีการจัดเตรียมติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันในทุกประตูทางเข้าและออกของการจัดงานฯ ดังต่อไปนี้

 

1. ติดตั้งเครื่องเทอร์มัลสแกน (Thermal-Scanner) บริเวณทางเข้าอาคารหลักและหน้างาน สาหรับคัดกรองอุณหภูมิร่างกายและผู้ป่วยที่เข้าข่ายต้องคัดแยกเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีท่านใดมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อจะมีการเรียนเชิญท่านไปยังห้องตรวจคัดกรองเพื่อตรวจติดตามอาการ

2. จัดเตรียมอุปกรณ์เทอร์มัลสแกน (Thermal-Gun) สาหรับตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองผู้ป่วย พร้อมเตรียมห้องปฐมพยาบาลเพื่อคัดกรองผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

3. ประสานทีมแพทย์และพยาบาล จากสถาบันบาราศนราดูร ให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการแพทย์ พร้อมทั้งประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขกับมาตรการ ในการคัดกรองและติดตามอาการ

4. เตรียมเจลล้างมือบริการลูกค้า ณ ทางเข้าออกอาคารหลัก ห้องประชุมย่อย รวมถึงห้องน้า เพื่อใช้ทาความสะอาด

5. เพิ่มความถี่ในการทาความสะอาดอาคารสถานที่ บริเวณห้องจัดงาน จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม ห้องน้า และอื่นๆ ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อโรค ตลอดจนฉีดพ่นน้ายาฆ่าเชื้อตามพื้นที่จัดแสดงงานตามความเหมาะสม

6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส2019 หรือ COVID-19 พร้อมขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมงานฯ ทุกท่านให้ปฏิบัติตามข้อแนะนาในการป้องการแพร่ระบาด

 

“เราทำทุกอย่างโดยละเอียดทุกขั้นตอน ทั้งนี้ก็เพื่อผู้เข้าชมงานเพราะยืนยันว่าเราต้องการให้ทุกคนมางานของเราแล้ว ต้องปลอดภัยมากที่สุด” คุณจาตุรนต์ โกมลมิศร์  ย้ำกับเราถึงเรื่องความปลอดภัย

 

นอกจากการจัดแสดงรถยนต์แล้ว สำหรับในปีนี้บางกอกมอเตอร์โชว์ยังมีความพิเศษอีกอย่างเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 50 ปี  ของกรังด์ปรีซ์ที่เดินทางยาวนานต่อเนื่องลานด้านหลังสำหรับขนของจะมีการจัดแสดงนิทรรศการความเป็นมาของกรังด์ปรีซ์รวมถึงการจัดแสดงยานยนต์คลาสสิคในแต่ละปีเพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงอดีตเก่าๆ รองประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

 

“สำหรับในปีนี้ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางมาถึง 50ปี ถือเป็นระยะเวลายาวนาน เราก็อยากจะเปิดเผยให้ทุกทุกคนได้เห็นถึงการเติบโตของกรังด์ปรีซ์ ว่าแต่ละช่วงปีเราทำอะไรกันบ้าง อย่างเช่นในปี พ.ศ.2522 เราเริ่มต้นการจัดงาน มอเตอร์โชว์ครั้งแรกที่สวนลุมฯ หรือย่างในปี พ.ศ.2518 เราได้จัดการแข่งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์มาราธอน 24 ขั่วโมงขึ้นเป็นครั้งแรก หรือแม้กระทั่งความการคว้าแชมป์แรลลี่ทางไกล เวียงจันทร์-ไทย-มาเลเซีย-สิงค์โปร์ ของท่านประธานบริษัท ดร.ปราจิน เอี่ยมลำเนา ในปี พ.ศ. 2512 รวมถึงประกวดมิสมอเตอร์โชว์ครั้งแรกเริ่มในปี พ.ศ.2536 เป็นต้นฯ เรื่องราวเหล่านี้เราจะจัดแสดงเอาไว้ด้านหลังเปิดให้ทุกคนได้เข้าชมกัน รวมถึงเราเองก็ยังจะหมุนเวียนจัดแสดงรถคลาสสิคในแต่ละยุคเอาไว้ด้วยเช่นกัน”

 

ในระยะเวลา 50 ปีของบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) มีเรื่องราวและความน่าสนใจอย่างยิ่ง ทุกเส้นทางไม่ง่ายอุปสรรคต่างๆ คือบทพิสูจน์ความแข็งแกร่ง งานใหญ่ต่างๆที่กลายเป็นประวัติศาสตร์มีมากมาย อย่างเช่นการจัดการแข่งขันรถประวัติศาสตร์ กรุงเทพ กรังด์ปรีซ์บนถนนราชดำเนิน เป็นอีกงานต้องบันทึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การแข่งขันยานยนต์ไทย หรือแม้กระทั่งการสร้างความยิ่งใหญ่ในวงการความเร็วไทย ด้วยการเปิดสนามแข่งขันสไตล์เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถแห่งแรกของประเทศไทยในชื่อ ‘พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต(พัทยา)’ ซึ่งเวลานั้นถือเป็นสนามที่มีมาตรฐานสูงสุดในเวลานั้น ถัดในปี พ.ศ.2533 กรังด์ปรีซ์ ได้ความตื่นตาให้วงการความเร็วอีกครั้ง เมื่อได้เชิญ แม็คลาเรน-ฮอนด้า รถฟอร์มูล่าวัน โชว์ตัว ครั้งแรกที่ พีระฯ เซอร์กิต 

 

“เรื่องความพร้อมของการจัดงานเรามีความพร้อมทุกด้าน ปีนี้เราอาจไม่บังคับให้ทุกค่ายนำรถคอนเซ็ปต์คาร์เข้ามาโชว์แต่เราก็เปิดโอกาสให้ทุกค่ายนำเสนอรถของตัวเองแบบที่เขาอยากโชว์ เพราะเราเข้าใจว่าต้นทุนค่อนข้างสูงในการที่ต้องนำเข้ารถเหล่านี้มาโชว์ในงานด้วยปัจจัยหลายๆอย่างเราก็เห็นใจ ส่วนโซนมอเตอร์ไซค์ก็ยังมีมาครบเช่นเดิม รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ผู้ที่จะเข้าชมงานไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย เราดูแลเข้มงวดอย่างดีรวมถึงการป้องกันไวรัส COVID-19 ด้วย”

ส่วนเรื่องการจัดงานผู้จัดยังคงยืนยันว่าจะมีการจัดอย่างแน่นอน แต่ทั้งหมดคงต้องรอดูสถานการณ์อีกครั้ง จาตุรนต์ โกมลมิศร์  รองประธานจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 กล่าวปิดท้าย

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2