• 4 มกราคม 2019 at 13:36

อนาคตยานยนต์ไทย..รุ่งหรือร่วง

ค่ายรถยนต์ในประเทศไทย ชี้ตลาดรถเมืองไทยก้าวสู่สังคมรถไฟฟ้า ตลาดรถปีหน้าโตต่อเนื่อง หลังปีนี้ทะลุล้านคันแน่นอน...!!! เอ้าแล้วเราจะต้องรู้อะไรบ้างเมื่อทุกอย่างมันกำลังเริ่มต้นขึ้น เมื่อไม่นานได้มีโอกาสร่วมฟังเสวนาเรื่องทิศทางยานยนต์ในอนาคต โอ้โฮ้เทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อคนรุ่นใหม่สัมผัสได้ถึงรถยนต์คันโปรดที่คุณครอบครอง

แล้วหัวข้อต้นๆที่ใครต่อใครพูดถึงกันมากคือเรื่องของการ - A: Autonomous , E: Electrified, C: Connected, S: Services รถยนต์ในอนาคตจะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ขับและรถยนต์รวมถึงซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นผ่านสมาร์ทโฟนหรือแอปพิเคชั่น ขณะที่เรื่องของการขับเองเดินทางเองของรถยนต์ขณะนี้ก็อาจยังไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แต่เราก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว ปล่อยมือออกจากพวงมาลัยแล้วให้รถแล่นไปเองได้แต่ในเวลาสั้นๆ ยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ที่น่าสนใจและถูหยิบยกมาคุยกันหนาหูมากเมื่องานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่ผ่านมาคือเรื่องของรถใช้พลังไฟฟ้า(EV) โดยล่าสุดค่ายรถยนต์ฟันธงตรงกัน รถยนต์ยุคใหม่ “รุกคืบ...ก้าวสู่สังคมรถไฟฟ้า” เชื่อมคน เชื่อมเทคโนโลยี เชื่อมสิ่งแวดล้อม เชื่อมบริการ พร้อมทุ่มงบวิจัยและพัฒนา เร่งให้ความรู้ผู้บริโภค

 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า เนื่องจากปีนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ก้าวสู่มิติใหม่นั้นคือแนวโน้มการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด โดยยอดการผลิตรถยนต์ทุกแบรนด์ในเดือนตุลาคม 2561 อยู่ที่ 197,203 คัน เพิ่มขึ้น 20.62 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมา รถยนต์นั่งมียอดการผลิต 76,905 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา 9.31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรถกระบะ 1 ตัน มียอดการผลิต 117,539 คัน เพิ่มขึ้น 30.15 เปอร์เซ็นต์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงนี้การผลิตรถกระบะ 1 ตัน จำนวนเพิ่มมากขึ้น อันนี้ชี้ให้เห็นถึงการเติบของเศรษฐกิจของประเทศ เพราะรถกลุ่มนี้ผู้บริโภคจะซื้อไปใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามสามบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ในเมืองไทย มาสด้า,บีเอ็มดับเบิ้ลยูและนิสสัน ต่างก็ออกมาประกาศเช่นกันว่าหลังจากนี้ต่อไปในอนาคตข้างหน้า การผลิตรถไฟฟ้าหรือ (EV) รวมถึงปลั๊กอินไฮบริดก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก อย่างบีเอ็มดับเบิ้ลยูก็ดำเนินการเรื่องนี้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559 เขาได้เข้ามาทำตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid) และรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบีเอ็มดับเบิลยูได้มีการให้ความรู้เรื่องรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดกับผู้บริโภคผ่านการจัดสัมมนาทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ และได้ขยายการให้ความรู้ไปสู่การให้ความรู้รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังให้ทุนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารถยนต์ไฮบริดกับสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศไทย โดยรวมไปถึงการลงทุนตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ 50 สถานี 

หรือแม้แต่มาสด้าเองที่กำลังมียอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็ยังออกมาเปิดเผยถึงทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ว่า ในปี 2573 จะลดการผลิตรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปให้ได้ 50% และในปี 2593 จะลดเหลือเพียง 90% โดยตั้งเป้าหมายให้การผลิตรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า แบบ ไฮบริด หรือปลั๊กอิน รวมไปทั้ง EV ให้ได้ 95% ของการผลิตรถทั้งหมด แต่ยังคงยึดแนวคิด zoom-zoom คงน่าสนใจน่าดูว่ามาสด้าจะให้ความแรงและความประหยัดเดินคู่กันได้อย่างไรโดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่เข้ามาแทนระบบสันดาปภายใน ด้านนิสสันเองที่ขึ้นชื่อว่าผู้นำเรื่องพลังงานทดแทนอย่างประเภทไฟฟ้า(EV) ก็ออกมาบอกว่าเทคโนโลยีอะไรก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน จากข้อมูลของนิสสันระบุว่า มีคนจำนวนมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีจำนวน 1 ใน 3 ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มอีก 5 เปอร์เซ็นต์

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มยานยนต์โลกกำลังเข้าสู่ยุคของรถที่มีเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่มากขึ้นและยังจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม แต่ทั้งนี้บ้านเราเองอาจต้องมองไปถึงการเติบโตของส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยเมื่อบริษัทรถยนต์พร้อมผลิตแล้ว ส่วนของกรมขนส่งหรือแม้แต่การวางระบบโครงข่ายการชาร์จและความปลอดภัยมีความพร้อมขนาดไหน..ฝากไว้ให้คิดด้วยนะครับ อย่างเพลิดเพลินคิดว่าง่าย

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2