• 29 มิถุนายน 2018 at 12:17

ECO Sticker?

              ประโยชน์โดยตรงผู้บริโภค ดูรายละเอียดตัวผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจ

                ไม่ต้องย้อนกันไปไกล เมื่องานมอเตอร์ “มหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 32”ที่เพิ่งผ่านมา มีท่านผู้อ่านเดินเข้าไปดูรถหลายแบรนด์ เห็นว่ามี ECO Sticker แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ทั้งที่จริงนั่นคือข้อมูลกลางของรถคันนั้นเป็นมาตรฐานการตรวจของภาครัฐ

                นั่นแหละคือสิ่งสำคัญเลยคุณอ่านแล้วศึกษาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถได้เลย ว่ารถประเภทนี้มีค่าประหยัดเท่าไหร่ ระดับกี่ดาว ผู้บริโภคได้ประโยชน์เต็มๆ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกันสักหน่อยว่า รายละเอียดเขาเขียนบอกไว้ว่าอะไรบ้าง เมื่อ18 ธันวาคม 2555 ถือเป็นจุดเริ่มต้น มติคณะรัฐมนตรีเรื่องการติดฉลาก ECO และการควบคุม CO2 เริ่มดำเนินการ แจ้งให้ทราบกันมานาน แต่วันที่ได้เปิดให้มีการแถลงข่าวน่าจะเป็นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558 เห็นจะได้ มีงานแถลงข่าวใหญ่โต ชี้ชัดเรื่องมาตรการนี้ สำหรับ ECO Sticker หรือ ฉลากรถยนต์ โดย กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลัง โดยจะมีการบังคับใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2558 เป็นต้นมา ถือเป็นการทำงานควบคู่กับ โครงสร้างภาษี CO2 ซึ่งก็เริ่มใช้ไปแล้วเช่นกัน หมายความว่า รถทุกคันที่จำหน่ายในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นรถนำเข้า หรือผลิตในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2559 จะต้องติด ECO Sticker ไว้บนกระจกหน้าต่างทุกคัน ซึ่ง ECO Sticker นี้ จะเป็นฉลากที่แสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ ที่มีความเป็นกลาง และจะใช้มาตรฐานเดียวกันกับรถทุกคันที่จำหน่ายในไทย การที่รถยนต์ในประเทศไทย มีการบังคับให้ใช้ฉลากรถยนต์ หรือ ECO Sticker ข้อดีอย่างแรกเลยเมื่อมีการติดสติ๊กเกอร์แบบนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างมาก เพราะผู้บริโภคจะได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ที่ทดสอบโดยองค์กรภาครัฐที่มีความเป็นกลาง

                - ทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025

                - มีวิศวกรของ สมอ. และ/หรือ หน่วยงานควบคุมทางเทคนิค (Technical Service) ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิก UN WP29 กำกับดูแลตลอดการทดสอบ

                - ได้รับการตรวจรับรองผลการทดสอบจาก สมอ. และ/หรือ ประเทศสมาชิก UN และมี E mark รับรองผล

ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลจากผู้ผลิต ที่อาจใช้วิธีทดสอบที่แตกต่างกันไป จึงไม่สามารถหาตัวเลขที่เป็นกลางได้ รวมทั้งอาจมีการบิดเบือนตัวเลขเกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งในประเทศที่มีอุตสาหกรรมรถยนต์ระดับโลก (ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่) มีการบังคับใช้ ฉลากติดรถยนต์ มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว

                แล้วที่นี้ผู้อ่านจะได้เห็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอีกล่ะครับ คือต่อไปนี้จะไม่มีการขับประหยัดคาราวานเดินทาง หรือแม้แต่การแข่งขันแบบประหยัดขับกันข้ามจังหวัดขับกันแบบหมดวันหมดคืน แล้วก็ออกมาประกาศผ่านโฆษณาชวนเชื่อว่าประหยัดกี่กิโล/ลิตร ผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่าการที่มีสติ๊กเกอร์แบบนี้จะเป็นข้อดีมาก ที่ภาครัฐทำการทดสอบและการรันตีด้วยตัวเอง อย่างน้อยเลยเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถชี้ชัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลของรัฐบาลทำขึ้นมาเอง เพราะว่าถ้ามีคำว่าแข่งขันเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เข้ามาแข่งขันส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นพื้นฐาน รู้ว่าควรจะต้องขับประหยัด การเลี้ยงคันเร่งหรือเติมน้ำหนักของเท้าส่งผลต่อการประหยัดทั้งหมด แน่นอนว่าความประหยัดย่อมต้องดีกว่าการใช้งานปกติแน่นอน ดังนั้นวิธีเดิมๆ การสร้างความประหยัดเพื่อการโฆษณา ที่นี้ถ้าเราได้เห็นสติ๊กเกอร์ ก็เชื่อได้เลยครับคุณภาพต้องตรงตามนั้น ถ้าผิดเพี้ยนไปจากนี้ก็ไม่มากนัก แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าสติ๊กเกอร์ มีบอกอะไรบ้าง ไม่ใช่เรื่องยากเลยการอ่าน ECO Sticker นั่น สามารถทำได้ง่ายมาก

                (1.) อัตราสิ้นเปลือง ทดสอบโดยใช้มาตรฐาน R101 จากยุโรป ซึ่งเป็นการทดลองในห้องแล็บ เพื่อจำลองสภาวะการขับขี่แบบเดียวกันกับรถทุกคัน โดยใช้หน่วยเป็น ลิตร/100 กม. มีทั้ง สภาวะในเมือง นอกเมือง เฉลี่ย ที่ผ่านมา แม้จะมีการระบุ แต่ก็ไม่มีการบ่งบอกว่า ตัวเลขที่ได้ ถูกทดสอบด้วยมาตรฐานอะไร,

                     (2.)อัตราการปล่อย CO2 ทดสอบโดยใช้มาตรฐาน R101 เช่นเดียวกัน หน่วยเป็น กรัมต่อกิโลเมตร โดยในปี 2559 เป็นต้นไป จะใช้ค่าไอเสีย CO2 ในการคิดภาษีสรรพสามิตทุกคัน จึงเป็นตัวเลขที่มีความสำคัญมาก และเป็นตัวเลขที่บริษัทผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายจะระบุ,

                     (3.) มาตรฐานสิ่งแวดล้อม บ่งบอกมาตรฐานไอเสียของรถยนต์แต่ละคัน,

               (4.) มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งบ่งบอกว่า รถคันนี้ มีอุปกรณ์ความปลอดภัยก่อนการชนอะไรบ้าง และบอกมาตรฐานในการปกป้องผู้โดยสารเมื่อเกิดการชน โดยใช้มาตรฐาน UN R94 และ UN R95,

                    (5.) ข้อมูลพื้นฐานของรถยนต์ ซึ่งมีระบุโดยบริษัทผู้ผลิตอยู่แล้ว,

                    (6.) อุปกรณ์ที่ติดตั้งจากโรงงาน ซึ่งมีระบุโดยบริษัทผู้ผลิตอยู่แล้ว,

                    (7.) ชื่อบริษัท ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า

                เห็นไหมว่าไม่ใช่เรื่องยาก แล้วถ้าคุณดูแล้วกลัวนานเกินไป ยังสามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ได้อย่างง่ายดาย แถมยังสามารถมั่นใจได้อีกว่า ข้อมูลที่ได้รับ มาจากหน่วยงานภาครัฐที่เชื่อถือได้ และมีความเป็นกลาง และหลังจากนี้ เรา ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงแน่นอน อย่างน้อยเราจะเห็นแน่นอน ว่ารถยนต์ในประเทศของเราจะ “สะอาด-ประหยัด-ปลอดภัย” อย่างแน่นอนเป็นการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปอีกขั้น ปรับตัวและทำความเข้าใจกันอีกนิดประเทศไทยไปได้สวยแน่นอน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.car.go.th

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2